วันอังคารที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2556


ประวัติอินเทอร์เน็ต (Internet)                
อินเทอร์เน็ต เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ซึ่งเริ่มก่อตั้งโดยกระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกา
โดยสายส่งสัญญาณเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ ภารกิจหลักเพื่อใช้ในงานวิจัยทางทหาร

โดยใช้ชื่อว่า “อาร์ปา” (ARPA : Advanced Research Project  Agency)
                ปี 2515 หลังจากที่เครือข่ายทดลองอาร์พา ประสบความสำเร็จ ก็ได้มีการปรับปรุงหน่วยงานจาก
อา ร์ปา มาเป็นดาร์พา (Defence Communication Agency)  ในปี 2526 อาร์ปาเน็ตได้แบ่งเป็น 2 เครือข่าย ด้านงานวิจัยใช้ชื่อว่าอาร์ปาเน็ตเหมือนเดิม  ส่วนเครือข่ายของกองทัพใช้ มิลเน็ต(MILNET: Military Network) ซึ่งมีการเชื่อมต่อโดยใช้โปรโตคอล TCP/IP (Transmission Control Protocol / Internet Protocol) เป็นครั้งแรก
                ในปี 2528 มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติอเมริกา (NSF) ได้ให้เงินทุนในการสร้างศูนย์ซูเปอร์
คอมพิวเตอร์ 6 แห่ง และใช้ชื่อว่า  NSFNET  และพอมาถึงในปี 2533 อาร์ปาเนตไม่สามารถ 
ที่จะรองรับ ภาระที่
เป็นหลัก (Backbone) ของระบบได้ อาร์ปาเน็ตจึงได้ยุติลง และเปลี่ยนไปใช้ NSFNET และเครือข่ายอื่นๆ แทน
มาจนเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ จนกระทั่งถึงทุกวันนี้ โดยเรียกเครือข่ายว่า อินเทอร์เน็ต โดยเครือข่ายส่วนใหญ่
่จะอยู่ในอเมริกา และปัจจุบันนี้มีเครือข่ายย่อย มากมายทั่วโลก
                อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยเริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2530 โดยการเชื่อมต่อมินิคอมพิวเตอร์ของ
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) ไปยังมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศ
ออสเตรเลีย  แต่ในครั้งนั้นยังเป็นการเชื่อมต่อโดยผ่านสายโทรศัพท์ ซึ่งสามารถส่งข้อมูลได้ช้าและไม่เป็นการถาวร
จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2535 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ได้ทำการเชื่อมต่อ
คอมพิวเตอร์กับมหาวิทยาลัย 6 แห่ง ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT)
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สถาบันเทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC),
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
เข้าด้วยกันเรียกว่า เครือข่ายไทยสาร
                เครือข่ายไทยสารเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยมีมหาวิทยาลัยและหน่วยงานราชการเข้ามาเชื่อมต่อกับ
เครือข่ายนี้เพิ่มขึ้นอีกจำนวนมาก จะเห็นได้ว่าอินเทอร์เน็ตในประเทศขณะนั้นยังจำกัดอยู่ในวงการศึกษา และการวิจัย
เท่านั้น ไม่ได้เป็นเครือข่ายที่ให้บริการในรูปของธุรกิจ แต่ทางสถาบันนั้น ๆ จะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง
                ต่อมาในปี พ.ศ. 2537 ความต้องการในการใช้อินเทอร์เน็ตจากภาคเอกชนมีมากขึ้น การสื่อสาร
แห่งประเทศไทย (กสท) จึงได้ร่วมมือกับบริษัทเอกชน เปิดบริการอินเทอร์เน็ต ให้แก่บุคล ผู้สนใจทั่วไปได้สมัคร
เป็นสมาชิก ตั้งขึ้นในรูปแบบของบริษัทผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ เรียกว่า “ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต” 
หรือ ISP (Internet Service Provider)
อินเทอร์เน็ต (Internet)
                อินเทอร์เน็ตได้กลายเป็นสิ่งจำเป็นในชีวิตประจำวัน เป็นเครื่องมือในการประกอบธุรกิจ แม้กระทั่ง
กลายเป็นสื่อที่จำเป็นของภาครัฐในการประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ ข้อมูล ข่าวสาร ออกไป สู่สังคมภายนอกให้ได้ทราบ
นี่คือสภาพแห่งความเป็นจริงของสังคมโลกที่ไม่สามารถจะปฏิเสธได้
                หากจะกล่าวถึงอินเทอร์เน็ต ก็คงจะต้องกล่าวถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Network) ควบคู่กันไป
ด้วยเหตุที่เครือข่ายคอมพิวเตอร์จะรวมเอาเครื่องคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องเชื่อมต่อเข้าด้วยกันผ่านทางระบบ
การสื่อสาร (communications) เช่น ทางสายเคเบิล สายโทรศัพท์ โมเด็ม และ ดาวเทียม เป็นต้น
                เครือข่ายที่ใหญ่ที่สุดของโลก เราเรียกว่า “อินเทอร์เน็ต” (internet) ซึ่งรวมเอาเครือข่าย
ต่างๆ จำนวนมหาศาลที่มีอยู่ทั่วโลกมาเชื่อมต่อ (links) เข้าเป็นเครือข่ายเดียวกัน โดยแต่ละเครือข่ายจะจัดกลุ่ม
ของข้อมูลกันเองเพื่อสะดวกต่อการที่จะเข้าไปสืบค้นข้อมูลได้ อย่างสะดวก รวดเร็ว
                ระบบเครือข่ายจำนวนมากรวมเป็นเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งมักนิยมเรียนสั้นๆ ว่า “เน็ต” (Net) 
อินเทอร์เน็ตเป็นสื่อสาธารณะที่ทุกคนมีสิทธิบริโภคอย่างเท่าเทียมกันไม่มีผู้ใดเป็นเจ้าของ โดยแต่ละองค์กร หรือ
หน่วยงานก็จะรับผิดชอบดูแลในส่วนของตนที่เกี่ยวข้อง มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมากกว่า 100 ล้านคนทั่วโลกที่เข้ามา
เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตและใช้บริการด้วยเหตุผลและความต้องการที่ต่างๆ กันซึ่งพอที่จะสรุปเป็นข้อ ๆ ได้ คือ
  • เพื่อค้นคว้าหาข้อมูล  ข่าวสาร  งานวิจัย และ เพื่อการศึกษา
  • เพื่อจัดการเกี่ยวกับธุรกิจ  การเงิน  การซื้อขายสินค้า
  • เพื่อความบันเทิง ท่องเที่ยว
  • เพื่อหาซื้อสินค้า และบริการต่าง ๆ
  • เพื่อพบปะสังสรรค์กับบุคคลอื่น
  • เพื่อเข้าสู่ระบบเครือข่ายอื่นๆ และแลกเปลี่ยนข้อมูล
  • รับส่งจดหมาย เอกสาร ข้อความ
บริการบนอินเทอร์เน็ตมีหลายอย่างด้วยกัน เช่น
  • เวิลด์ ไวด์ เว็บ WWW
  • ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail)
  • FTP
  • Telnet
  • UseNet Newsgroups
  • Chat
เวิลด์ ไวด์ เว็บ (World Wide Web)
                เป็นบริการหนึ่งที่อยู่บนระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ การพัฒนาของเครือข่าย
ใยแมงมุม ได้ดำเนินไปอย่างรวดเร็วและก้าวหน้าไปอย่างไม่หยุดยั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีด้านมัลติมีเดีย
ทำให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ทวีความมหัศจรรย์ให้กับการศึกษาในโลกไร้พรมแดน และกลายเป็นแหล่งทรัพยากร
ของกระบวนการเรียนการสอนที่สนองต่อกระบวนการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดียิ่ง
                เมื่อไม่กี่ปีก่อนหน้านี้มีผู้สนใจใช้งานอินเทอร์เน็ตไม่มากนัก เนื่องจากการใช้บริการ อินเทอร์เน็ต
ไม่ว่าจะเป็นการค้นหาข่าวสารข้อมูล การรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ การสำเนา แฟ้มข้อมูล ฯลฯ จะอยู่ในรูปแบบ
ของตัวอักษร (Text Mode)เท่านั้น ไม่มีการแสดงที่เป็นรูปภาพ เสียง ภาพยนตร์ และไม่มีอักษรแบบต่าง ๆ ปรากฎ
ให้เห็นแต่อย่างใด นอกจากนี้ผู้ใช้จะต้องเรียนรู้การใช้คำสั่งคอมพิวเตอร์มากมาย เช่น ต้องเรียนรู้คำสั่งเบื้องต้น
ของยูนิกซ์ (UNIX) เนื่องจากเมื่อจะมีการเรียกใช้งานอินเทอร์เน็ต เครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ จะอยู่ภายใต้ระบบ
ปฏิบัติการยูนิกซ์ ดังนั้นผู้ใช้จึงต้องเรียนรู้คำสั่งเบื้องต้นของยูนิกซ์ เพื่อทำการป้อนคำสั่งที่เป็นตัวอักษรด้วยตัวเอง
                จนกระทั่งมีบริการที่เรียกว่า World Wide Web (WWW) หรือ เครือข่ายใยแมงมุมเกิดขึ้นทำให้
ความนิยมการใช้อินเทอร์เน็ตสูงขึ้น เนื่องจาก WWW เป็นบริการหนึ่งที่อยู่ในอินเทอร์เน็ต ที่ใช้งานได้ง่าย สะดวก
ผู้ใช้ไม่ต้องจำคำสั่งของยูนิกซ์อีกต่อไป การอ่านและค้นหาข้อมูลสามารถกระทำได้เพียงแต่กดปุ่มเมาส์เพียงอย่างเดียว
เท่านั้น
                การที่จะใช้บริการ WWW ได้นั้นจำเป็นจะต้อง มีส่วนประกอบ 2 ส่วน ดังนี้
                1. แหล่งข้อมูล หรือเว็บไซต์ (Web Site)
2. 
โปรแกรมเว็บบราวเซอร์ (Web Browser)

แหล่งข้อมูล หรือ เว็บไซต์            คือระบบคอมพิวเตอร์ที่เป็นแหล่งเก็บเว็บเพจ ที่ผู้ใช้บริการสามารถเรียกดูเว็บเพจที่ เก็บอยู่ใน
เว็บไซต์นั้นได้ ซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นเว็บไซต์อาจจะใช้ระบบปฏิบัติ
                 เว็บเพจเป็นเอกสารแบบไฮเปอร์เท็ก (Hypertext document) เก็บอยู่ที่เว็บไซต์ต่าง ๆ
ในรูปของแฟ้ม ข้อมูลที่มักจะสร้างขึ้นด้
การ ยูนิกซ์ (UNIX) หรือ
วินโดวส์เอนที (Windows NT) ก็ได้ ผู้เป็นเจ้าขอเว็บไซต์จะจัดสร้างเว็บเพจ ของตนเก็บไว้ที่เว็บไซต์เพื่อให้
ผู้ใช้คนอื่นทั่วโลก สามารถเข้ามาดูเว็บเพจที่เก็บไว้ในเว็บไซต์นั้นได้ เช่นเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
จะเก็บอยู่ที่เว็บไซต์ http://ww.swu.ac.th   เขียนด้วย
ภาษา HTML (Hypertext Markup Language)
โดยมีนามสกุลเป็น htm หรือ html
โปรแกรมเว็บบราวเซอร์ (Web Browser)                    เป็นโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ที่ใช้ ในการเข้าสู่ WWW และเปิดดูเว็บเพจ ผู้ใช้สามารถเรียกข้อมูลนั้น
ขึ้นมาแสดง ได้โดยใช้โปรแกรม ประเภท Web Browser เช่น Netscape หรือ Internet Explorer
เว็บเพจที่เป็นหน้าแรก ของเว็บเพจ นิยมเรียกกันว่า “โฮมเพจ” (Home Page)
                การเข้าถึงเว็บเพจใดๆ นั้นผู้ใช้จะต้องทราบตำแหน่งที่อยู่ของเพจนั้น ๆ บนเว็บเสียก่อน
ตำแหน่งที่อยู่ เหล่านี้ เรียกว่า URL (Uniform Resource Locators) ตัวอย่างของ URL ได้แก่
http://www.swu.ac.th        URL ที่เป็นโฮมเพจของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
http://www.tv5.co.th         URL ที่เป็นโฮมเพจของสถานีโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง5
http://www.nectec.or.th     URL ที่เป็นโฮมเพจของ NECTEC
http://www.yahoo.com      URL ที่เป็นโฮมเพจของ Yahoo
http://www.srithai.com      URL ที่เป็นโฮมเพจของ  Srithai
http://www.geocities.com/TheTropics/Paradise/2703    URL โฮมเพจฟรีของ Geocities
ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail)
                E-mail เป็นบริการในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่สำคัญที่มีผู้นิยมใช้บริการกันมากที่สุด
สามารถส่งตัวอักษร ข้อความ แฟ้มข้อมูล ภาพ เสียง ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไปยังผู้รับ อาจจะเป็นคนเดียว
หรือกลุ่มคนโดยทั้งที่ผู้ส่งและผู้รับเป็นผู้ใช้ที่อยู่ในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เดียวกัน ช่วยให้สามารถติดต่อสื่อสาร
ระหว่างกันได้ทั่วโลก มีความสะดวก รวดเร็ว และสามารถสื่อสารถึงกันได้ตลอดเวลาโดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าผู้รับ
จะอยู่ที่ไหน จะใช้เครื่องคอมพิวเตอร์อยู่หรือไม่ เพราะไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์จะเก็บข้อความเหล่านั้นไว้
                เมื่อผู้รับเข้าสู่ระบบเครือข่าย ก็จะเห็นข้อความนั้นรออยู่แล้วความสะดวกเหล่านี้ ทำให้นักวิชาการ
สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารถึงกันและกัน นักศึกษาสามารถปรึกษา หรือฝึกฝนทักษะกับอาจารย์ หรือ เพื่อน
นักศึกษาด้วยกันเอง โดยไม่ต้องคำนึงถึงเวลา และระยะทาง โดยผู้ใช้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ไม่ว่าจะอยู่ตรงส่วนใด
ของมุมโลก
                ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นสื่อประเภทหนึ่งที่เหมาะสมในการเรียนรู้ และช่วยขจัด ปัญหาในเรื่อง
ของเวลา และระยะทาง ผู้เรียนจะรู้สึกอิสระและกล้าแสดงออกมากกว่าปกติ ตลอดจนสามารถเข้าถึงผู้เรียนเป็นราย
บุคคลได้เป็นอย่างดี ในยุคสารสนเทศดังเช่นปัจจุบัน ระบบการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพจะมีบทบาทสำคัญ ในการพัฒนา
สังคมให้เข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ได้อย่างรวดเร็ว ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นรูปแบบการสื่อสารที่ทันสมัยรูปแบบหนึ่ง
                จากความสำคัญของไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ที่สามารถอำนวยประโยชน์ให้กับผู้ใช้อย่างคุ้มค่านี้
ทำให้ในปัจจุบันไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ แทบจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของสำนักงานทุกแห่งทั่วโลก และในที่สุดเมื่อ
ทุกบ้านมีคอมพิวเตอร์ใช้ สมาชิกในชุมชนโลกก็จะสามารถติดต่อกันผ่านทางคอมพิวเตอร์ การทำงานตามสำนักงาน
หรือสถานที่ต่างๆ จะถูกเปลี่ยนไปสู่การทำงานที่บ้านมากขึ้นโดยการรับส่งงานทางคอมพิวเตอร์
เพิ่มเติม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น